ITAP และ BID สวทช. จัดสัมมนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยีและการส่งออกให้ SME ในตลาดเกิดใหม่แถบตะวันออกกลาง


สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) และ ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BID) จัดสัมมนาเรื่อง “โอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการ SME ในตลาดต่างประเทศ ตอนที่ 1: เจาะตลาดตะวันออกกลาง อินโดนีเซีย และอินเดีย” เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2567 ณ ห้องออดิทอเรียม อาคารสำนักงานกลาง อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยีและสร้างโอกาสในการส่งออกให้กับผู้ประกอบการยุคใหม่ได้มีแนวทางในการเจาะตลาดการค้าระหว่างประเทศได้มากขึ้น ซึ่งมีผู้ประกอบการ SME ที่สนใจส่งออกสินค้าและผลิตภัณฑ์ไปต่างประเทศเข้าร่วมงานกว่า 50 ราย

พีชยา จิระธรรมกิจกุล ผู้จัดการงานอุตสาหกรรมอาหาร เกษตร และสุขภาพ (FAH) โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) สวทช. เปิดเผยว่า โปรแกรม ITAP จัดสัมมนาเรื่อง “โอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการ SME ในตลาดต่างประเทศ ตอนที่ 1: เจาะตลาดตะวันออกกลาง อินโดนีเซีย และอินเดีย” เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ SME ไทยได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสและอุปสรรคของตลาดเกิดใหม่ในประเทศแถบตะวันออกกลาง อินโดนีเซีย และอินเดีย พร้อมกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญตลาดอินเดีย อินโดนีเซีย และตะวันออกกลาง คือ ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค ร่วมกับผู้ประกอบการไทยยุคใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีและสร้างโอกาสในการส่งออกให้กับธุรกิจในการส่งออกไปยังต่างประเทศ

โปรแกรม ITAP สวทช. มีกิจกรรมภายใต้โครงการเพื่อพลิกโฉม SME ไทย สู่เวทีโลก ด้วยกลไกการสนับสนุนจากภาครัฐ นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพให้ผู้ประกอบการไทยในการส่งออกและการเติบโตของธุรกิจ เช่น การใช้ Digital Tools เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการส่งออกของตลาดโลก การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ SME ด้านบรรจุภัณฑ์เชิงนวัตกรรมและมาตรฐานฮาลาลเพื่อการส่งออก การเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (NET ZERO) และการประยุกต์ใช้ Generative AI สำหรับธุรกิจ นอกจากนั้น ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ จะสามารถขอรับการสนับสนุนในโจทย์การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันด้านการส่งออกของบริษัทในด้านต่าง ๆ ได้ เช่น การพัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก การทำวิจัยตลาด (Market Research) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) การให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับการส่งออก เป็นต้น

ด้านวิทยากร ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค ผู้อำนวยการพัฒนาธุรกิจระหว่างประเทศ บริษัท ไซแอนทิฟิก เทรดดิ้ง รีเสิร์ช จำกัด ในฐานะผู้เชี่ยวชาญตลาดอินเดีย อินโดนีเซีย และตะวันออกกลาง ชี้ให้เห็นภาพอุปสรรคและโอกาสสำคัญในการทำตลาดส่งออกไปยังตลาดเกิดใหม่ว่า ก่อนอื่นผู้ประกอบการไทยต้องทำความเข้าใจและศึกษาถึงพฤติกรรมตลาดและผู้บริโภค กฎหมายระเบียบและ มาตรการการกีดกันทางการค้า รวมถึงภาษา วัฒนธรรมและความเชื่อของแต่ละประเทศ และต้องทราบถึงโอกาสของตลาดเกิดใหม่ว่า มีความน่าสนใจในด้านอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างไร ขนาดของประชากร ขนาดของตลาดทั้งปริมาณและคุณภาพ รวมถึงภาพลักษณ์และคุณภาพของสินค้าไทยด้วย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการส่งออกและการเติบโตของธุรกิจ นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังชี้เห็นถึงกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ในต่างประเทศที่มีประสิทธิภาพว่า ควรจะเริ่มตั้งแต่การทดสอบตลาด การหาพันธมิตรที่ใช่ การทำตลาด และการขยายตลาดแบบยั่งยืน

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ SME ที่สนใจ สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสนับสนุนการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศด้วยการเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยี ได้ที่โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) สวทช. โทร. 0 2564 7000 ต่อ ITAP (ไอแทป) อีเมล itap@nstda.or.th และเว็บไซต์ www.itap.nstda.or.th


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save